สรุปคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ-ยกคำร้องทั้ง5 ชี้ฝ่ายผู้ร้องมีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอ | พระพุทธบาทดอทคอม

ร้าน ''สถาพร''

สรุปคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ-ยกคำร้องทั้ง5 ชี้ฝ่ายผู้ร้องมีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอ





 




   เมื่อ 13 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยระบุ ในประเด็นที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องโดยตรงจากบุคคลได้ตาม ม.68 ตามสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าการที่ อสส.ไม่ส่งคำร้องไม่ตัดสิทธิ์ ประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าตาม ม.291ไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ ควรให้ประชาชนทำประชามติก่อนว่า ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับหรือไม่ หรือแก้รายมาตราโดยสภา

 คำร้องที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ขัดต่อ ม.68 ว่าด้วยการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพราะร่างที่ผ่านวาระ2ไป ม.291/11 มีเขียนป้องกันไว้แล้ว ส่วนประเด็นสุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ขัดต่อ ม.68 ไม่ต้องตัดสินยุบพรรค+ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค เท่ากับศาลวินิจฉัยครบ 4 ประเด็นแล้ว

 ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าให้ยกคำร้องทั้ง 5 เนื่องจากข้ออ้างของฝ่ายผู้ร้อง มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าการแก้รัฐธรรมนูญล้มล้างประชาธิปไตย





ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ชัดแก้มาตรา291 ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามที่ผู้ร้องกล่าวหา

เวลา 14.45 น.
ศาลรธน.
เริ่มอ่านคำวินิจฉัยประเด็นแรกศาลมีอำนาจรับคำร้องหรือไม่ศาล


ศาลเห็นว่า ม.68 วรรค2 ให้สิทธิผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอ อสส.-ศาลรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุด มีสิทธิเพียงตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ตัดสิทธิยื่นศาลรัฐธรรมนูญ และการกระทำดังกล่าวยังไม่ได้บังเกิดผล ศาลมีอำนาจสั่งระงับการกระทำได้


ให้ชนชาวไทยทุกคนมีส่วนปกป้องระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนต่อต้านโดยสันติวิธี ป้องกันการกระทำได้อำนาจปกครองโดยมิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นเจตนารมณ์หลัก กรณี อสส.ตรวสจสอบแล้วแต่ไม่มีคำสั่งใดจาก อสส.หากปล่อยให้ลงมติวาระ3 แม้ต่อมาอสส.ร้องให้เลิกการกระทำ ก็ไม่ทำให้ย้อนคืนได้ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคดี

ประเด็นที่ 2 แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่

รัฐธรรมนูญได้ผ่านการลงมติจากประชาชน จึงเป็นเจตนารมณ์ของประชาชน จึงต้องให้ประชาชนผู้สถาปนารัฐธรรมนูญนี้เห็นชอบก่อนการแก้มาตรา 291 แม้เป็นอำนาจของรัฐสภา แต่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชนที่ลงประชามติ แต่หากรัฐสภาจะไปแก้เป็นรายมาตรา สามารถทำได้ รัฐสภา ยังไม่ได้ลงมติวาระ 3 ไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะล้มล้างการปกครอง การตั้งส.ส.ร.ยังไม่เป็นรูปธรรม

กระบวนการยกร่าง หากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วมีลักษณะการล้มล้างการปกครอง ผู้ทราบการกระทำนั้น ยังมีสิทธิยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ได้อีก ผู้ถูกร้องแสดงเจตคติตั้งมั่นว่าจะดำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยพิจารณาแล้ว เป็นเพียงอ้างเป็นเพียงการคาดการณ์ และห่วงใยพระมหากษัตริย์ การกระทำของผู้ถูกต้อง ทั้ง 6 ไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นที่ 4 พิจารณาให้ยกคำร้อง

สรุปศาลวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ศาลให้แนวทางไว้ว่า แก้ทั้งฉบับไม่ได้ แต่แก้รายมาตราได้ และต้องประชามติก่อน ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามที่ผู้ร้องกล่าวหา

ศาลรัฐธรรมนูญยังมีคำสั่งให้ยกคำร้องของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่ร้องในลักษณะเดียวกัน แล้วแจ้งให้พล.ต.จำลอง ทราบ

ภาพที่โพสต์

ภาพที่โพสต์



บรรยากาศคนเสื้อแดงหลังฟังคำวินิจฉัยของศาลรธน.





ศาลรธน.ชี้แก้ทั้งฉบับไม่ได้ แก้รายมาตราได้ และทำประชามติก่อน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


ศาลรธน.วินิจฉัย แก้ทั้งฉบับไม่ได้ แต่แก้รายมาตราได้ และต้องประชามติก่อน ย้ำไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามที่ผู้ร้องกล่าวหา


ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อวินิจฉัยกรณีมีผู้ร้องว่าการแก้รัฐะรรมนูญมาตรา 291 ขัดต่อ รัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ โดย นายบุญ ส่งกุลบุปผา และนายนุรักษ์ มาประณีต เป็นผู้อ่านคำวินิจฉัย  โดยในประเด็นแรกว่าศาลสามารถรับคำร้องไว้วินิจฉัยได้หรือไม่  ศาลเห็นว่า มาตรา 68 วรรคเป็นบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ที่ทราบการกระทำที่ฝ่าฝืนตามมาตรา 68 ที่จะตรวจสอบโดยมีสิทธิสองประการคือ 


1.เสนอให้ อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง  
2.สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำได้  
การใช้สิทธิวินิจฉัยเป็นหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ อสส. มีหน้าที่หาข้อเท็จจริงเท่านั้น  การแปรความดังกล่าวจะสอดคล้องต่อเจตนารมณ์ เรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้การกระทำต้องดำเนินอยู่จึงจะสั่งให้เลิกการกระทำ มิเช่นนั้นก็จะเป็นการพ้นวิสัยที่จะกระทำ


สิทธิตามมาตรา.68 มีเจตนาต้องการให้คนไทยร่วมกันปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นการป้องกันล่วงหน้าและวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำ หากปล่อยให้เกิดการกระทำที่เป็นภัยร้ายแรง ย่อมสุดวิสัยที่จะแก้คืนได้ และเป็นการให้ต่อต้านโดยสันติวิธี มาตรานี้มิได้มุ่งหมายลงโทษทางอาญา หรือทางรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการสั่งให้เพิกถอนการกระทำเสียก่อน  มาตรานี้จึงเป็นไปเพื่อรักษาและคุ้มครองรัฐธรรมนูญ และปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นี่ต่างหากถือเป็นเจตนารมณ์หลักของรัฐะรรมนูญ ยิ่งกว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ


หากพิจารณาจากรายงานการประชุมส.ส.ร. ยังพิจารณาได้ว่าสาระสำคัญของการอภิปรายอยู่ที่ให้ประชาชนใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ การตีความเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเสนอคำร้องควรตีความยอมรับสิทธิมากกว่าจำกัดสิทธิ  หากไม่มีคำสั่งของ อสส. และปล่อยให้มีการลงมติวาระสาม แม้แต่มาจะมีคำสั่งจาก อสส. ก็ไม่สามารถจะบังคับได้อีก ศาลจึงมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณา


ประเด็นที่ 2 ศาลวินิจฉัยว่าการแก้ไข ม.291 สามารถแก้ไขโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ รัฐสภา เป็นองค์กรตามรัฐะรรมนูญ ดังนั้นจึงไม่มีอำนาจที่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้่งฉบับ อีกทั้ง การตรารัฐธรรมนูญ 2550 ได้ผ่านการลงประชามติจากประชาชนโดยตรง ประชาชนจึงเป็นผู้สถาปนารัฐธรรมนูญ การแก้ไขตาม ม.291 แม้จะเป็นอำนาจของรัฐสภา แต่การยกร่างใหม่ทั้งฉบับไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์  เมื่อมาโดยประชาชนก็ควรให้ประชาชนลงประชามติเสียก่อนว่าควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่  


ประเด็นที่ 3  เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ ตามที่ไม่ได้บัญญัติตาม 68 วรรคหนึ่งหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เป็นผลมาจาก รธน. 2550 ม.291 เห็นได้ว่ายังไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอถือได้ว้่าล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการตจัดตั้ง ส.ส.ร. ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมถือเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าไม่มีผลแต่ประการใด  ประกอบบันทึกร่างหลักการและเหตุผลของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ให้เหตุผลว่าจะรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  อีกทั้ง มาตรา 291 วรรค 5 ก็บัญญัติว่า ร่างที่มีผลการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะกระทำมิได้


นอกจากนี้หากร่างใหม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาและประธานสภาก็สามารถยับยั้งและร่างแก้ไขมีอันตกไป และยังสามารถส่งเรื่องให้ตรวจสอบข้อเทํจจริงและส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้   และข้อเท็จจริงยังไม่เห็นว่าการกระทำเป็นการล้มล้างการปกครอง ข้ออ้างจึงเป็นเพียงการคาดการณ์ และความห่วงใยต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ศาลจึงให้ยกคำร้อง และไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ 4 เรื่องยุบพรรค 


Related Articels

0 ความคิดเห็น

Leave a Reply


ดูแลโดย © กุ้งอินเตอร์ kunginternews | เยี่ยมชมเว็ปไซค์ กุ้งอินเตอร์นิวส์